หลายท่านที่เป็นนักท่องราตรี คงได้เคยเห็น หรือได้ลองสัมผัสกันมาบ้างแล้ว กับ มอระกู่ หรือ บารากู่ อุปกรณ์สูบยา ที่จะตั้งไว้กลางโต๊ะ ให้ผู้เสพได้ผลัดกันอมท่อ ดูดท่อ ส่งต่อ ๆ กัน วันนี้แม้จะยังไม่มีกฎหมายมาควบคุม หรือมีความผิดใด ๆ ก็ตาม แต่รับรองว่ามันมีโทษมหันต์ต่อร่างกายแน่ มาทำความรู้จักกับ มอระกู่ หรือ บารากู่ กันก่อนดีมั๊ย ก่อนที่จะติดกันงอมแงม
มอระกู่ หรือ บารากู่ คือ ยาสูบที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้เสพที่มีชื่อเรียกว่า ฮุคคา(hookah/อินเดีย) อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกที่ต่างกันในหลายภาษาเช่น water pipe , narghile , shisha(เปอร์เซีย) , hubble-bubble เป็นต้น ส่วนประเทศไทยเรียกว่าเตาบารากู่ การสูบ ใบยาสูบจะถูกวางไว้ปลายท่อด้านหนึ่ง แล้วสูบผ่านท่อที่ต่อกับกระบอกที่ใส่น้ำไว้ข้างใน การสูบยาสูบโดยใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนี้เป็นวัฒนธรรมแถบตะวันออกกลางมานานแล้ว ซึ่งในปัจจุบันได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว
สารที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ฮุคคาไม่จำเป็นต้องแห้งสนิท ที่มักใช้กันก็มีชื่อว่า โทบาเมล หรือ มาแอสเซล ซึ่งประเทศไทยรู้จักในนามชื่อว่า บารากู่ เป็นส่วนผสมของใบยาสูบ (tobacco) กับสารที่มีความหวาน เช่น น้ำผึ้งหรือกากน้ำตาล (molasses) หรือผลไม้ตากแห้ง
โทษภัยของ มอระกู่ / บารากู่
เมื่อสูบมอระกู่ประมาณหนึ่งเดือน ผู้สูบจะเริ่มติด จะรู้สึกกระสับกระส่ายเล็กน้อย และคิดอะไรไม่ออก ผู้คนส่วนใหญ่มักคิดว่าการสูบมอระกู่นั้นให้พิษภัยน้อยกว่าการสูบบุหรี่ , มีสรรพคุณชูกำลัง และมิใช่ยาเสพติด ซึ่งถือเป็นความคิดที่ผิดจากความเป็นจริง และสตรีบางส่วนมักคิดว่าการสูบมอระกู่นั้นจะทำให้มีภาพลักษณ์ที่ดีกว่าผู้หญิงที่สูบบุหรี่ ทั้ง ๆ ที่มอระกู่มีโทษกว่าบุหรี่ถึง 6 เท่า
ทั้งนี้การสูบมอระกู่ 1 ห่อ เท่ากับการสูบบุหรี่ 20 มวน นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งไม่น้อยไปกว่าการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารนิโคติน, คาร์บอนมอนนอกไซด์ และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ ในระดับสูง(ดูจากปริมาณควันที่พ่นออกมาก็รู้แล้วว่ามีความเข้มข้นสูงมาก ๆ) และยังพบว่าการสูบมอระกู่นาน 45 นาที จะผลิตสารน้ำมันดิน (ทาร์) มากกว่าการสูบบุหรี่ 5 นาที ถึง 36 เท่า และอาจก่อให้เกิดโรคติดต่อได้หากใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เช่น วัณโรค หรือ โรคที่ติดต่อทางการสัมผัส หายใจ หรือ น้ำลาย
แม้บารากู่จะมีกลิ่นหอมหวานชวนให้ลุ่มหลงในการสูบอย่างถอนตัวไม่ขึ้น แต่รู้หรือไม่จากการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า บารากู่มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไป เพราะมีสารทาร์และนิโคตินจำนวนมากกว่า อีกทั้งการสูบผ่านน้ำและการผสมกลิ่นผลไม้ต่างๆ จะทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง แต่กลัทำให้ผู้สูบสูบได้ลึกขึ้นและจำนานมากขึ้น
เมื่อเทียบการสูบบารากู่นาน 45 นาที จะได้รับสารทาร์เป็น 36 เท่า คาร์บอนมอนอกไซด์เป็น 15 เท่า และนิโคตินเป็น 70 เท่า ของการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมาก โดยผู้ที่สูบจะได้รับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ซึ่งเป็นสารที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดแข็งตัว และโรคเรื้อรังของระบบทางเดินหายใจ ผู้สูบจะมีอาการปวดศีรษะ ตามองเห็นภาพไม่ชัด ใจสั่น เวียนศีรษะ และมีระดับคอเลสเตอรอลในกระแสเลือดมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่ทั่วไป
อีกทั้งยังอาจกระตุ้นให้เกิดหลอดลมตีบตันในตัวผู้ป่วยโรคหอบหืด และเพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ ยังพบว่าทำให้เกิดการเจริญเติบโตผิดปกติของทารกในครรภ์อีกด้วย
-->
โทษตามกฎหมาย
มอระกู่ / บารากู่ เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทที่ยังไม่ได้แจ้งส่วนประกอบต่อกระทรวงสาธารณสุข จึงเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 ไม่สามารถจำหน่ายได้ หากพบผู้ใดมีไว้ในครอบครองหรือจำหน่าย จะดำเนินการตามกฎหมาย และมีโทษปรับครั้งละ 100,000 บาท
นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บารากู่ยังถูกควบคุมด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.ยาสูบของกรมสรรพสามิต ซึ่งการนำเข้าต้องขออนุญาตก่อน แต่กรมสรรพสามิตยังไม่เคยอนุญาต ดังนั้นจึงเป็นสินค้าที่ผิดกฎหมายทั้งหมด คือ มีไว้เพื่อขายยาสูบที่มิได้ปิดแสตมป์ยาสูบ และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย พาเอาไปเสีย ซื้อ จำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งขออันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่เข่ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง (ค่าปรับแพงนะครับ)
กรณีสถานบันเทิงหากเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่านำใบยาสูบจากต่างประเทศมาให้บริการจะเข้าข่ายความผิดลักษณะเดียวกับการลักลอบนำเข้าซิการ์ที่ไม่ได้เสียภาษี ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายจะมีความผิดมีโทษปรับหลักแสน แต่กรณีที่ไม่ได้ใช้ยาสูบนำเข้าแต่นำเอาใบยาสูบที่ปลูกในประเทศไทย ไปผสมกับมะม่วงกวน ยางไม้ต่างๆ แล้วนำเอาไปให้บริการลูกค้าสูบกันในสถานที่ติดแอร์ซึ่งไม่ใช่สถานบันเทิง เช่น ตามร้านอาหาร สถานที่จัดประชุม ล็อบบี้โรงแรมก็ถือว่ามีความผิดแต่เป็นความผิดตามกฎหมายของสำนักงานสาธารณสุขคือสูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบก่อให้เกิดควันบุหรี่มือสอง ผู้สูบจะมีความผิดถูกปรับ 2,000 บาท ส่วนเจ้าของสถานที่ถูกปรับไม่เกิน 20,000 บาท หากพบว่าให้บริการกับเด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีก็ถือว่ามีความผิดเช่นกัน รวมทั้งการห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่ผู้ที่อายุไม่เกิน 18 ปี
ส่วนผู้สูบ ไม่ได้มีการกำหนดโทษไว้แต่อย่างใด การสูบมอระกู่ / บารากู่ อาจดูเหมือนไฮโซ ดูดีกว่าสูบบุหรี่ บางสถานบริการมีไว้บริการลูกค้าเพื่อให้ดูว่าหรูหรา มีระดับ เป็นการหลอกล่อ ให้นักเที่ยวเสพ เพื่อดูดเงินในกระเป๋าพวกสมองกลวงเท่านั้น
รู้ถึงโทษภัยของทั้งผู้ขาย ผู้เสพ ขนาดนี้แล้ว ยังคิดจะลองกันอีกหรือครับ ในกระโหลกมันมีสมองอยู่หรือเปล่า ลองไปให้หมดตรวจดูบ้างนะครับ รึหัวมีไว้คั่นหู 555
-->