หมอกควันจากความละโมบของนายทุน

Sent
0
ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ และหลายพื้นที่ในภาคกลาง ภาคอีสาน ช่วงฤดูแล้งของทุกปี  เป็นวงจรที่เกิดขึ้นมานับสิบปี  ต้องมีมาตรการ , การรณรงค์ กันทุกปี ซ้ำซากวนเวียน  นอกจากนี้ยังทำให้มีผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจอีกเป็นจำนวนมาก  ทั้ง ๆ ที่ภาครัฐนั้นก็ทราบปัญหานี้ดี  แต่ก็ไม่ได้ใช้มาตรการที่ตรงจุดในการแก้ไข



     ปัญหาหมอกควันนั้นเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ คือ
  1. การเผาไร่อ้อย  ในฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยช่วงปลายปีต่อต้นปี  เกษตรกรจะใช้วิธีเผาไร่อ้อย เพื่อขจัดใบอ้อย แล้วให้คนงานเข้าไปตัดกอง  จากนั้นจะมีรถคีบ  คีบอ้อยขึ้นรถบรรทุกเพื่อส่งไปยังโรงงานน้ำตาล  แม้การเผานี้จะทำให้มูลค่าอ้อยลดลงกว่าการตัดอ้อยแบบไม่เผาอยุ่มากก็ตาม  ทางแก้ปัญหาคือต้องบังคับให้โรงงานน้ำตาลไม่รับอ้อยที่เกิดจากการเผา  เกษตรกรต้องดูแลไร่ของตนเองให้ดี  หากมีปัญหาไฟไหม้ ต้องมีการสอบสวน และตั้งค่าปรับ  เพื่อไม่ให้เกิดการอ้างใด ๆ ขึ้นได้
  2. การเผาที่นา ไร่ข้าวโพด หลังเก็บเกี่ยว  เป็นปัญหาหลักในภาคเหนือ  โดยเฉพาะไร่ข้าวโพด  ที่บริษัทอาหารสัตว์ยักใหญ่  ต้องการข้าวโพดในวงจรธุรกิจของตน  ส่งเสริมการปลูกโดยไร้จรรยาบรรณ หรือสามัญสำนึก  ทำให้เกิดการรุกพื้นที่ป่า ภูเขาสูง เป็นจำนวนมาก  ซึ่งทางบริษัทฯ นั้นสามารถทราบได้จากปริมาณข้าวโพดที่รับซื้อ กับพื้นที่เพาะปลูกปกติ ซึ่งมันไม่สมดุลกันอย่างยิ่ง 
  3. การเผาป่า ทั้งที่ทำเพื่อการไล่ต้อนสัตว์ป่า(แล้วเกิดลุกลาม) , หาของป่า เช่น เห็ด หรือผักหวาน หรือ เพื่อทำทำการเกษตร  พวกนี้สร้างผลเสีย 2 ต่อ  คือการเสียพื้นที่ป่าต้นน้ำ  


     การทำการเกษตรแบบเห็นแก่ได้อย่างนี้  ไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม  ทั้งทางธรรมชาติ และผลกระทบต่อผู้คน  สิ่งที่รัฐบาลควรดำเนินการ  ต้องไล่บี้ไปยังบริษัทใหญ่ที่เป็นต้นเหตุเสียก่อน  ให้รับเฉพาะพืชผลการเกษตรที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม  ไม่เช่นนั้นในอนาคตข้างหน้า  จะสร้างความเสียหายระยะยาวให้กับประเทศและสิ่งแวดล้อม จนยากที่จะฟื้นคืน(ทีมันร้อนขึ้นทุกวันนี้ คิดว่ามาจากสาเหตุอะไรล่ะครับ)  



     ต่อไปประเทศที่พัฒนาแล้วอาจมีจะมาตรการกีดกันสินค้าการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับการทำลายสิ่งแวดล้อม  เช่น ผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่มาจากการเผาอ้อย , ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ที่มาจากการเผาไร่ เผาป่า เป็นต้น   เหมือนอย่างที่สินค้าเกี่ยวกับการประมงทะเล ที่ถูกแบนจากข้อหา ค้ามนุษย์ และ ทำลายสิ่งแวดล้อม

     เรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมนี่ไม่ควรให้ต้องมีการกีดกันเสียก่อน แล้วจึงค่อยปรับปรุง แก้ไข  ควรเป็นจิตสำนึกของผู้มีส่วนเกียวข้อง ทั้งภาครัฐ  นายทุน  เกษตรกร   ยิ่งปรับตัวช้า ยิ่งเสียเปรียบ  จริงมั๊ย ?

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)