การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร
1) เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
2) หักลดหย่อนบุตรได้ไม่เกิน 3 คน คนละ 15,000 บาท
3) การนับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการหักลดหย่อนด้วย
4) ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะบุตรดังนี้
- มีอายุไม่เกิน 25 ปี และกำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยขั้นอุดมศึกษา
- เป็นผู้เยาว์
- เป็นผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
5) บุตรมีเงินได้ไม่ถึง 15,000 บาท เว้นแต่มีเงินได้ตั้งแต่ 15,000 บาท แต่เงินได้นั้นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 แห่งประมวลรัษฎากร
6) ให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมให้หักลดหย่อนได้ในฐานะบุตร บุญธรรมฐานะเดียว
ค่าลดหย่อนเพื่อการศึกษาของบุตร
บุตรซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อน 15,000 บาท มีสิทธิหักลดหย่อนเพื่อการศึกษาบุตรได้ 2,000 บาท ถ้าเป็นการศึกษาในระดับอนุบาลถึงปริญญาเอก และเป็นการศึกษาในประเทศ
-->
การหักลดหย่อนกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 47(2) วางหลักไว้ว่า ในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(1)(ก) และ (ข) ให้หักลดหย่อนรวมกันได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(1)(ก) และสำหรับการหักลดหย่อนตามประมวลรัษฎากร มาตรา 47(1)(ค)(ฉ) และ (ซ) ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณี
สำหรับบุตรของผู้มีเงินได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 47(1)(ค) หักได้คนละกึ่งหนึ่ง