รู้เรื่องภาษี : การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Sent
ในทุก ๆ ปี บุคคลธรรมดาผู้มีรายได้เกินกว่า 150,000 บาท/ปี จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา  โดยสามารถยื่นแบบเสียภาษีได้ตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ของทุกปี  และส่วนมากก็จะมีปัญหาในการคำนวณ  ว่าจะคิดยังไง  คำนวณไม่เป็น  ทำให้รู้สึกยุ่งยากเป็นอย่างยิ่ง  วันนี้ จะมาแนะนำการคำนวณภาษี ให้กับท่าน  เพื่อเป็นแนวทาง จะได้เสียอย่างถูกต้อง  บางท่านอาจได้ขอคืนภาษีด้วยนะคะ  เรียกว่าคิดดีดี อาจมีคืนก็ได้
     ในปี 2556 คณะรัฐมนตรี ได้ประกาศอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในอัตราใหม่ ซึ่งลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย มนุษย์เงินเดือน ลูกจ้าง ข้าราชการต่าง ๆ  ดูตามตารางด้านล่างนี้ได้เลยจร้า

     เงินได้สุทธิ หมายถึง รายได้ที่รับตลอดทั้งปี เช่น เงินเดือน โบนัส ปันผล ดอกเบี้ย และรายได้อื่น ๆ มาหักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทของรายได้ และหักค่าลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ ยอดเงินที่ได้จะเป็น "เงินได้สุทธิ" ซึ่งจะใช้ในการคำนวณภาษีต่อไป
     การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ มีอะไรบ้าง(คลิ๊กดูรายละเอียดแต่ละรายการตามลิงค์)
     - ค่าใช้จ่าย จำนวน 60,000 บาท
     - ค่าลดหย่อน จำนวน 30,000 บาท
     - ค่าลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ จำนวน 30,000 บาท
     - ค่าลดหย่อนบุตรที่ยังไม่ได้ศึกษา จำนวน 15,000 บาท / ค่าลดหย่อนบุตรที่กำลังศึกษา 17,000 บาท(ไม่เกิน 3 คนนะคะ) กรณีฝ่ายสามีและภรรยาต่างมีเงินได้และแยกกันยื่นแบบเสียภาษี ให้หักค่าลดหย่อนบุตรคนละครึ่งค่ะ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
     - ค่าลดหย่อนบิดามารดาตัวเอง และบิดามารดาคู่สมรส ที่ไม่มีเงินได้ บำนาญ คนละ 30,000 บาท
     - เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
     - เงินลงทุนใน RMF ที่ซื้อไปแล้ว เฉพาะในปีนี้
     - เงินลงทุนใน LTF ที่ซื้อไปแล้ว เฉพาะในปีนี้
     - ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต เฉพาะในปีนี้
     - ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญ เฉพาะในปีนี้
     - ค่าดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน , กู้ยืม
     - เงินสะสมประกันสังคม
     - เงินบริจาคการศึกษา
     - เงินบริจาคอื่น ๆ
-->      เว็บไซต์บริการคำนาณภาษีบุคคลธรรมดา
     1.เว็บไซต์ กบข.
     2.เว็บไซต์ ธนาคารกรุงไทย

     หมายเหตุ บางท่านอาจสงสัยว่า รัฐลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลง จะทำให้เก็บภาษีได้น้อยลง แล้วเม็ดเงินที่จะมาพัฒนาหรือทำโครงการต่าง ๆ จะพอหรือไม่  อันนี้เป็นการคิดแบบมองต่างมุม  ภาครัฐ(ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ) มองว่า  หากคนทั่วไปมีเงินในกระเป๋ามากขึ้น  อาจนำไปใช้จ่ายมากขึ้น  ผลของการใช้จ่าย  ทำให้รัฐเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้มากขึ้น  บวกกับเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากการใช้จ่าย  เกิดการสร้างงานมากขึ้น นิติบุคคลมีผลประกอบการดี ก็จะมีภาษีตามมาอีกหลายทางค่ะ