ศาลฎีกาได้กลับคำตัดสินของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ ที่พิพากษาจำคุก 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา และตัดสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แก่ พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ อดีตประธาน กกต. และ 3 อดีตกกต.ในความผิดฐานร่วมกันปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบในการจัดการเลือกตั้งใหม่รอบสอง ใน 38 เขต 15 จังหวัด เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 49
โดยศาลฎีกาได้กลับคำตัดสินของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ในคดีดังกล่าว ให้ยกฟ้องโดยชี้ว่าโจทก์"ถาวร เสนเนียม"ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง ที่จะมีอำนาจฟ้อง
เอาเรื่องแรกก่อน คือการที่ว่า ผู้ฟ้องคือนายถาวร เสนเนียม ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง เป็นเหตุให้ยกฟ้อง ตรงนี้คือพื้นฐานครับ ผู้ฟ้อง หรือผู้เสียหาย ต้องถูกตัว เป็นหลักการง่าย ๆ ที่จะเริ่มต้นกระบวนการยุติธรรม แต่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ กลับมองข้ามประเด็นสำคัญนี้ไปอย่างไม่น่าเชื่อ และกลับลงโทษอย่างรุนแรงถึง 4 ปี โดยไม่รอลงอาญา
เรื่องต่อมา คือ กระบวนการที่โคตรล่าช้า กว่า 7 ปี ที่ต้องสู้คดี(เฉพาะศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา) ท่านคงเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า "ความยุติธรรมที่ล่าช้า มันคือความไม่ยุติธรรม" กลายเป็นว่าบรรดาการทำหน้าที่ของผู้พิพากษา ไม่มีกรอบเวลากำหนด ว่าจะต้องแล้วเสร็จในแต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่เดือน กี่ปี ดูอย่างคดีสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่รู้ว่าบรรดาคดีที่อยู่ทั้งศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ทั่นจะตัดสินกันชาติไหน
คงจำกันได้ช่วงปี 49 กกต. ชุด พล.ต.อ.วาสนาฯ ถูกกดดันอย่างหนัก จากการบอยคอตการเลือกตั้งของ พรรคประชาธิปัตย์ และการเสนอขอนายกมาตรา 7 ของพวกไม่เอาการเลือกตั้ง มีการพูดถึง กกต. ดังกล่าวว่าให้ลาออก เพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง หากไม่ลาออกจะติดคุก แล้วก็มีคนลาออกจริง ๆ ส่วนคนที่ไม่ลาออกก็ติดคุกจริง ๆ จนทำให้การเมืองถึงทางตัน และเกิดการรัฐประหารในที่สุด
บรรดาตุลาการ ที่ผันตัวเองมาอยู่ในองค์กรอิสระต่าง ๆ ยิ่งหนัก โดยเฉพาะพวกที่มาจากการรัฐประหาร ได้ลากเอาสถาบันตุลาการ เข้ามา และแสดงออก หรือตัดสินอย่างมีอคติ , สนับสนุนการรัฐประหารอย่างชัดเจน , ร่างรัฐธรรมนูญเอง ใช้เอง , เปิดพจนานุกรมตัดสิน , สุกเอาเผากิน , ทำตัวเหนือรัฐธรรมนูญ ฯลฯ จนบัดนี้ไม่เหลือองค์กรอะไรให้เชื่อถือ ศรัทธากันอีกแล้ว จะเอาแบบซีเรียอย่างนั้นหรือ ?