ก้าวต่อไปของฝ่ายประชาธิปไตย

Sent
0
เป็นที่แน่นอนแล้วว่าคณะรัฐประหาร ที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ ณ อัลไต  พ่ายแพ้ต่อกระแส "ประชามติรัฐธรรมนูญ"  จำเป็นต้องจัดให้มีการทำประชามติรับรองรัฐธรรมนูญ ฉบับกระรอกแทะ  ที่บรรดาคนดีศรีสยาม บรรจงร่างกันขึ้นมาด้วยความเสียสละ(หลังจากฟาดค่าตอบแทนกันจนพุงกาง)   แถมยังได้อ็อปชั่น  หากไม่ผ่าน  รัฐบาลเผด็จการยังสามารถยืดอายุออกไปได้อีก เพราะต้องร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่  บรรดาคนดีศรีสยาม  ก็จะได้รวมตัวกันยึดสภาร่างรัฐธรรมนวยกันใหม่อีกครั้ง  เรียกว่า วิน - วิน กันทุกฝ่าย  เป๋าตุงจากภาษีประชาชนกันอีกครั้ง

     ประชาชนจะต้องก้าวต่อไป  ด้วยกระแส "ไม่ผ่าน ต้องคืนเงิน" หรือ "เอา 40 หรือ 58"  ซึ่งเป็นการสร้างความชัดเจนในแนวทางประชามติ  อย่าหลงกลกับกระแสประชามติรัฐธรรมนูญ แล้วปล่อยให้เผด็จการกำหนดประเด็นในการทำประชามติ  เพราะอย่างไรเสีย จะผ่านหรือไม่ผ่าน คนพวกนี้ก็ยังต้องรักษาอำนาจให้อยู่กับตนเองต่อไป พร้อมรับค่าตอบแทนจากภาษีคุณไปเรื่อย ๆ  ดังนั้นการสร้างกระแสต่อเนื่องในการทำประชามติจึงเป็นสิ่งจำเป็น

     ส่วนที่มีคนสติไม่เต็มบางคนบ่นว่าเสียดายเงินประชามติราว ๆ สามพันล้านบาท  แต่กลับอนุมัติซื้ออาวุธเป็นแสนล้าน  ผมว่าตรรกะมันเพี้ยน ๆ นะ  จะบอกให้นะครับ เงินที่ใช้ในการทำประชามติ หรือจัดการเลือกตั้งนั้น  นอกเหนือจากการจัดพิมพ์แผ่นลงคะแนน และประชาสัมพันธ์แล้ว  เงินดังกล่าวยังได้กระจายไปสู่คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งระดับจังหวัด ระดับเขต ระดับอำเภอ ซึ่งเป็นบรรดาข้าราชการท้องที่  และยังมีกรรมการประจำหน่วย นับคะแนน ฯลฯ ซึ่งเป็นบรรดา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ข้าราชการครู ตำรวจ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

     นอกจากเรื่องรัฐธรรมนูญ เลือกตั้ง คืนอำนาจให้ประชาชน แล้ว  ยังมีสิ่งที่ต้องคิดคำนึงเพิ่มเติมในการพัฒนาขีดความสามารถของฝ่ายประชาธิปไตย  โดยที่ไม่ต้องไปผูกกับรัฐบาลใด ๆ โดยสามารถทำได้หลายอย่าง เช่น 

     1. ข้าวถุง การที่ บก.ลายจุด หรือ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ แกนนอนประชาธิปไตย สามารถทำข้าวลายจุด  โดยรับซื้อข้ามหอมปทุม จากชาวนาในราคาเกวียนละ 15,000 บาท  แล้วนำมาบรรจุถุงขาย ถุงละ 5 กิโลกรัม ราคา 200 บาท   โดยอาจสร้างแบรนด์ขึ้นมาใหม่ เช่น RedRice , ข้าวถุงแดง ฯลฯ  โดยวางยุทธศาสตร์การจำหน่ายในเรื่องของ Fair Trade Fair Price  เชื่อว่าจะมีออเดอร์จากผู้รักประชาธิปไตยมากมาย  อาจเกิดร้านค้า Red Brand ของชุมชน เป็นช่องทางจำหน่ายสินค้าอีกมากมาย  เป็นการช่วยเหลือผู้รักประชาธิปไตย จากผู้ผลิต ถึงผู้บริโภค

     2. ธนาคารเพื่อประชาชน  จะเห็นได้ว่าธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันนั้น  มีส่วนต่างของดอกเบี้ยฝาก และดอกเบี้ยกู้มากกว่า 5 %  และสร้างกำไรให้กับนายธนาคารเป็นจำนวนมาก  และเมื่อจะนำเงินของธนาคารมาช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรต่าง ๆ ก็มักจะมีปัญหาอยู่เสมอ  ก็ลงขันเปิดเองแม่งเลยพี่น้อง "RED BANK ธนาคารเพื่อประชาชน" พนักงานก็รับเฉพาะผู้ศรัทธาประชาธิปไตย และเห็นคนเท่ากัน เท่านั้น   การดำเนินกิจการก็ปล่อยกู้รายย่อย หรือ พวกไมโครไฟแนนซ์ ให้กับบรรดาแม่ค้า แผงค้า รถเข็น  คิดดอกในอัตราเป็นธรรม  สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นทุนได้ ไม่ต้องไปกู้หมวกกันน็อคดอกโหด



     3. ปุ๋ยอินทรีย์ ผสม เต็มสูตร ไม่โกง  ราคาคุณธรรม ตรา "ควายแดง"(ประชดแม่งเบย) รับรองว่ามีเกษตรกรรอซื้อมากมาย  เพราะพี่น้องชาวนา รากหญ้าถูกเอาเปรียบเรื่องปุ๋ยมานานแล้ว ทั้งแพง และสารอาหารไม่ครบตามฉลาก  เป็นต้นทุนในการเกษตรที่สำคัญ

     4. ช่องทีวี ในปัจจุบัน ก็มีอยู่บ้างแล้ว(โดนปิดไปหนึ่ง) ซึ่งรายการส่วนใหญ่ยังแค่เอาแกนนำมาแสดงทรรศนะ บลา บลา  แต่เรื่องที่เป็นปากท้องจริง ๆ ยังมีน้อยไป ซึ่งจะให้ฟังแต่เรื่องการเมืองทั้งวันมันก็ไม่ไหว  สิ่งที่ต้องนำเสนออย่างมีสาระก็เช่น  เกาะติดชีวิตเกษตรกร ดูว่าจะทำการเกษตรอะไรอย่างหนึ่งนั้น จะต้องมีวิธีการอะไร เอาอย่างละเอียดไปเลย คนที่ดูสามารถจะทำตามได้ทันที เป็นการให้ความรู้ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ อาจทำเป็นหลายตอน เพื่อรักษาเรทติ้ง , สอนอาชีพหลัก สอนอาชีพเสริม ฯลฯ พร้อมทั้งอัพวีดีโดทั้งหลายขึ้นบนยูทูป(เปิดแชแนล ติดโฆษณากับยูทูป หารายได้อีกทางหนึ่ง)  รวมทั้งโฆษณา หรือขายสินค้าในข้อ 1 - 3 ข้างต้น

     ตัวอย่างข้างต้นนั้น  อาจต้องมีการจัดตั้งองค์กรนำ  และมีการลงทุนในเบื้องต้น ซึ่งก็ไม่น่าจะยากลำบากเกินกว่าที่ความสามารถของผู้รักประชาธิปไตยจะทำได้  และสามารถต่อยอด แตกแขนงไปได้อีกหลายเรื่อง  และเป็นทุนสำคัญในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ยังยืนต่อไป  ก็ฝากแกนนำไปคิดกันดูนะครับ  จะให้เขาร่วมสู้ ก็ต้องดูปากท้องเขาด้วย จริงมั๊ย ?
Tags

แสดงความคิดเห็น

0ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น (0)