เมื่อวันที่ 14 มี.ค.59 ศาลจังหวัดพระโขนง อ่านคำสั่งของศาลฎีกา ในคดีที่อัยการ เป็นโจทก์ฟ้อง นางนฤมล หรือ จ๋า วรุณรุ่งโรจน์ อายุ 56 ปี , นายสุรชัย หรือ ปลา นิลโสภา (เสียชีวิตแล้ว) และ นายชาตรี หรือ หมู ศรีจินดา อายุ 30 ปี ทั้งสามเป็นแนวร่วม นปช. ร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1 – 3 ตามลำดับ เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิด พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และข้อหาอื่น
จากกรณี เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2553 จำเลยทั้งสามถูกกล่าวหาโดย ศอฉ. ว่า ร่วมกันครอบครองอาวุธปืนสงคราม เครื่องกระสุน และระเบิดจำนวนมาก และใช้อาวุธสงครามยิงใส่เฮลิคอปเตอร์ของเจ้าหน้าที่ระหว่างการชุมนุม โดยคดีนี้ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน ยกฟ้องขณะที่ศาลฎีกาพิเคราะห์ ฎีกาของอัยการโจทก์แล้ว เห็นว่า ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาข้อกฎหมาย ซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ ให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คดีนี้มันปัญญาอ่อนตั้งแต่ตั้งคดีแล้ว เนื่องจากความสามารถในการใช้อาวุธของจำเลยทั้งสามนั้น ไม่มีประสบการณ์แต่อย่างใด(โจทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้) ไม่มีคราบเขม่าที่ตัวจำเลย อาวุธที่อ้างว่าพบในท่อน้ำ เมื่อตรวจสอบดูแล้วปรากฎว่า ใส่เข้าไปในท่อน้ำไม่ได้ ฯลฯ สารพัดความง่าวของฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะจุดเริ่มต้นของความยุติธรรม คือพนักงานสอบสวน ไอ้ที่โดนกดดันให้รับคดีนั้นไม่แปลก ที่แปลกคือกล้าฟ้องด้วยพยานหลักฐานแบบนี้ได้อย่างไร
เมื่อตกเป็นเครื่องมือของความอยุติธรรม มาตรฐานทางวิชาชีพคุณก็ไม่เหลือ จริง ๆ แล้วทางทนาย ควรต้องให้ความเป็นธรรมกับฝ่ายจำเลยทั้ง 3 ที่ต้องติดคุกมานานนับปี ด้วยพยานหลักฐานที่ล้วนสร้างขึ้นเพื่อหวังผลทางการเมือง ตีกินกระแสข่าวสร้างความชอบธรรมในการปฏิบัติการสังหารหมู่กลางกรุง คือต้องยืนยันความบริสุทธิของจำเลยด้วยการฟ้องกลับ ! เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไล่ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับกุม ผู้รับผิดชอบสำนวนการสอบสวน อัยการ ไปจนถึง ศอฉ.
แม้ว่า ณ ปัจจุบัน คนใน ศอฉ. จะใหญ่ยักษ์ คุมประเทศด้วยกฎหมายในมือและปืน แต่ก็ต้องฟ้อง ให้มันรู้กันไปว่าระบบความยุติธรรมไทย จะสยบยอมให้กับอำนาจปากกระบอกปืนอีกหรือไม่ และเพื่อเป็นการยืนยันว่าไอ้ที่ทำรัฐประหารนั้น เพื่อปกป้องตนเองจากคดีปี 53 ร่วมกับแก๊ง กปปส. หรือไม่ ?
ธุลีดิน
ธุลีดิน