AEC : รู้จัก บรูไน

Sent
ไทยและบรูไนเริ่มสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่บรูไนได้รับเอกราชจากอังกฤษ หลังจากนั้นก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเรื่อยมา  สำหรับข้อมูลทั่วไปของประเทศบรูไน มีดังนี้

บรูไน ดารุสซาลาม (Brunei Darussalam)
ชื่อทางการ : เนการา บรูไน ดารุสซาลาม (Negara Brunei Darussalam แปลว่า ดินแดนแห่งความสงบสุข)
เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน (Bandar Seri Begawan)

ที่ตั้ง : ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว (ละติจูดที่ 5 เหนือเส้นศูนย์สูตร) แบ่งเป็นสี่เขต คือ เขต Brunei-Muara เขต Belait เขต Temburong และเขต Tutong
พื้นที่ : 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน
ภูมิอากาศ : อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก ฝนตกหนักสุดช่วงเดือนกันยายนถึงมกราคม และพฤษภาคมถึงกรกฎาคม อากาศเย็นสบายที่สุดจะอยู่ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส ภูมิอากาศ 
ประชากร :  414,000 คน (ปี 2553)   
ภาษา : ภาษามาเลย์(Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
ศาสนา : ศาสนาประจำชาติ คือ อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%และฮินดู (10%)
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ผู้นำรัฐบาล : สมเด็จพระราชาธิบดี ฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ (Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu’izzaddin Waddaulah)สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 29
ระบบการปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็น องค์ประมุขผู้นำรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ 1 มกราคม 2527 กำหนดให้สมเด็จพระราชาธิบดีทรงเป็นอธิปัตย์ คือ เป็นทั้งประมุขและนายกรัฐมนตรี

สมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันยังทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังด้วย
วันชาติ  23 กุมภาพันธ์
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์(Brunei Dollar : BND) 1 บรูไนดอลลาร์ ประมาณ 24.23 บาท (ค่าเงินบรูไนมีความมั่นคงและใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวกับเงินสิงคโปร์ และสามารถใช้เงินสิงคโปร์ในบรูไนได้ทั่วไป)
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ  12.0 พันล้าน USD (ไทย: 361.8 พันล้านUSD)
รายได้ประชาชาติต่อหัว  28,340 USD (ไทย: 5,351.6USD)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ  ร้อยละ 3.1 (2553)
ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
     สินค้านำเข้าสินค้า : เครื่องจักรอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร อาที ข้าวและผลไม้
     สินค้าส่งออกสำคัญ : น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ
     ตลาดส่งออกที่สำคัญ : ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย
     ตลาดนำเข้าที่สำคัญ : อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น

คำทักทาย  - ซาลามัต ดาตัง    

     ประเทศบรูไน เป็นประเทศที่มีความมั่นคงสูง ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีอยู่ที่ 2 ของอาเซียน (รองจากสิงคโปร์) รายได้หลักของบรูไนมาจากการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ ซึ่งผลิตได้มากเป็นอันดับ 4 ของโลก ทั้งนี้ บรูไนส่งออกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกว่าร้อยละ 90 ของการส่งออกทั้งหมด รายได้จากการส่งออกน้ำมันดังกล่าว มีหน่วยงานที่เรียกว่า Brunei Investment Agency (BIA) นำไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทุนกับต่างประเทศ ทั้งในรูปการถือหุ้น การซื้อพันธบัตรในประเทศต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้บรูไนมีดุลการค้าเกินดุลมาโดยตลอด

     อย่างไรก็ดี รัฐบาลบรูไนตระหนักดีว่าพลังงานที่ตนครอบครองอยู่นั้นกำลังจะหมดไปในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า จึงเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจโดยมีการประกาศแผนพัฒนาในระยะยาวชื่อว่า วิสัยทัศน์บรูไน ปี 2578 (Wawasan 2035-Vision Brunei 2035) แผนพัฒนาฉบับนี้แสดงให้เห็นว่าบรูไนเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคเศรษฐกิจอื่น นอกจากภาคพลังงาน ไม่ต้องพึ่งน้ำมันเพียงอย่างเดียว รวมไปถึงการส่งเสริมให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ ตั้งแต่รัฐบาลบรูไนเร่งปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจใหม่ รัฐบาลบรูไนมีความพยายามที่จะออกมาตรการต่าง ๆ กระตุ้นการลงทุนในภาคส่วนอื่น นอกจากภาคพลังงาน เพื่อสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ โดยการให้สิทธิพิเศษหลายประการแก่นักลงทุนต่างชาติ ดังเช่น การให้สิทธิพิเศษด้านภาษี บรูไนไม่มีการเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วน ไม่มีเก็บภาษีส่งออก ภาษีขาย ภาษีการผลิต สำหรับภาษีนิติบุคคลนั้นยังมีการเรียกเก็บอยู่ แต่เป็นการเรียกเก็บจากนิติบุคคลที่เป็นบริษัทเท่านั้น




     อย่างไรก็ดี อัตราภาษีที่จัดเก็บก็อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมากหากเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน สำหรับภาษีเงินได้ของบริษัทต่างชาติจะคำนวณภาษีเฉพาะรายได้ที่เกิดในบรูไนเท่านั้น ในอัตราร้อยละ 30 จากการที่ประเทศไทยและบรูไนต่างเป็นสมาชิกอาเซียน ในปี 2558 ที่จะมีการเปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มตัว ภาษีสินค้านำเข้าทั้งหมดจะเหลือร้อยละ 0 เว้นแต่สินค้าประเภท Sensitive List ซึ่งสามารถเก็บภาษีได้ แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 5 ซึ่งบรูไนมีสินค้าประเภท Sensitive List เพียงแค่ 2 รายการ ได้แก่ ชาและกาแฟ นอกจากนี้ยังมีการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนจากต่างชาติ โดยอนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นร้อยละ 100 ได้ในกิจการเกือบทุกสาขา สำหรับกิจการที่รัฐบาลบรูไนพยายามเน้นให้เกิดการพัฒนามากที่สุด ได้แก่ การเกษตรและการท่องเที่ยว อันเป็นกิจการที่ไทยมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด แม้บรูไนเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการเมือง มีการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่ใกล้ชิดทั้งในระดับราชวงศ์และระดับบริหาร แต่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกลับมีไม่มากนัก เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ

ข้อมูลจาก www.thai-aec.com และ www.trueplookpanya.com

-->
Tags