ช่วงนี้ภาพข่าวน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ทั้งที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย และตัวอำเภอเมือง จ.สุโขทัย ทำให้อดหวั่นใจไม่ได้ว่าปริมาณน้ำดังกล่าวจะค่อย ๆ ไหลมารวมกันลงมายังภาคกลาง ผ่าน จ.นครสวรรค์ อาจเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่แบบปี 2554 ยิ่งได้ข่าวแว่วมาว่าทางจีนกำลังน้ำท่วมหนัก และจะปล่อยน้ำจากเขื่อนลงมาอีกมหาศาล ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทำหนักแน่ ๆ
พี่น้องที่มีบ้านพักอยู่ใกล้กับแม่น้ำ หรือเคยถูกน้ำท่วมมาแล้ว ก็ขอให้เตรียมเก็บทรัพย์สินขึ้นที่สูง หรือไม่อย่างน้อยก็เตรียมวางแผนเอาไว้ก่อนนะครับว่าจะรับมือกับน้ำท่วมฉับพลันอย่างไร อย่าประมาทนะครับ เพราะที่ อ.แม่สาย ขนาดรถยังขยับหนีออกจากพื้นที่กันไม่ทันหลายคัน
ตอนนี้ต้องเตรียมพร้อมรับมือกันไว้ ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ครับ
1. ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์น้ำอยู่ตลอด เช่นที่ เว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร http://dds.bangkok.go.th/LFCC/pages/pageWeather.aspx หรือถ้าต่างจังหวัดก็สามารถติดตามประกาศได้จากกรมอุตุนิยมที่เว็บไซต์ http://www.tmd.go.th/index.php
2. ตรวจเช็คประกันบ้าน (ถ้ามี) ดูว่าครอบคลุมในเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมหรือไม่
3. ตรวจดูทรัพย์สินภายในบ้านที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหากเกิดน้ำท่วม เช่น ปลั๊กไฟ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , วัตถุมีคมต่าง ๆ , เตาแก๊ส เป็นต้น ควรแยกคัทเอาท์ชั้นล่าง ชั้นบน ส่วนทรัพย์สินมีค่า เอกสารต่าง ๆ ควรแยกเก็บไว้ชั้นบน หรือ ห่อพลาสติกกันน้ำเอาไว้
4. เตรียมอุปกรณ์เอาตัวรอดที่จำเป็น และเสบียง เช่น ไฟฉาย , เทียนไข+ไฟแช็ค , นกหวีด(เป่าขอความช่วยเหลือ) , อาหารแห้ง , น้ำดื่ม บางบ้านอาจเตรียมสู้น้ำท่วมด้วยการก่ออิฐ กั้นกระสอบทราย และมีเครื่องปั๊มน้ำ ก็ได้ หรือ อาจมีเรือพายลำเล็ก ๆ(พวกท่วมบ่อย ๆ จะมีพร้อม) และในสถานการณ์แบบนี้ วิทยุสื่อสาร หรือ วิทยุ FM จะมีประโยชน์มาก เพราะสัญญาณโทรศัพท์อาจใช้การไม่ได้ อีกอันที่ขาดไม่ได้คือยาสามัญประจำบ้าน และยาประจำตัว
5. วางแผนอพยพขึ้นที่สูง เพราะหากท่วมมากจริง ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ จะใช้ไม่ได้เลย เตรียมแผนอพยพเอาไว้ หาแหล่งที่พักเอาไว้ จะเป็นบ้านเช่า บ้านญาติ บ้านเพื่อน วัด หรือที่ทำงาน ก็ได้ และสิ่งของสำคัญที่จะต้องนำติดตัวไปด้วย เช่น ทรัพย์สินมีค่า เงินสด เครื่องประดับ ก็ต้องเก็บให้มิดชิดที่สุด ส่วนบ้านพักที่เราจำต้องทิ้งไป ปิดล็อคทุกอย่างให้เรียบร้อย ตัดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก็ส และทำใจครับ ส่วนพวกสัตว์เลี้ยงที่ก็ลำบากอยู่เหมือนกัน แต่ก็ต้องนำติดไปด้วย บางท่านมีตู้ปลาอยู่ในบ้าน พอน้ำท่วม ไฟดับ ปลาตายหมดตู้เลยก็มี
หวังว่าคงพอช่วยในการเตรียมตัวได้บ้าง น้ำจะท่วมหรือไม่ ท่วมมาก ท่วมน้อย ก็ยังไม่แน่ แต่ผู้ที่เตรียมตัว เตรียมพร้อม จะผ่านสถานการณ์ไปได้โดยเสียหายน้อยที่สุดครับ
ตอนนี้ต้องเตรียมพร้อมรับมือกันไว้ ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้ครับ
1. ตรวจสอบข้อมูลสถานการณ์น้ำอยู่ตลอด เช่นที่ เว็บไซต์สำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร http://dds.bangkok.go.th/LFCC/pages/pageWeather.aspx หรือถ้าต่างจังหวัดก็สามารถติดตามประกาศได้จากกรมอุตุนิยมที่เว็บไซต์ http://www.tmd.go.th/index.php
2. ตรวจเช็คประกันบ้าน (ถ้ามี) ดูว่าครอบคลุมในเรื่องความเสียหายจากน้ำท่วมหรือไม่
3. ตรวจดูทรัพย์สินภายในบ้านที่อาจเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยหากเกิดน้ำท่วม เช่น ปลั๊กไฟ , เครื่องใช้ไฟฟ้า , วัตถุมีคมต่าง ๆ , เตาแก๊ส เป็นต้น ควรแยกคัทเอาท์ชั้นล่าง ชั้นบน ส่วนทรัพย์สินมีค่า เอกสารต่าง ๆ ควรแยกเก็บไว้ชั้นบน หรือ ห่อพลาสติกกันน้ำเอาไว้
4. เตรียมอุปกรณ์เอาตัวรอดที่จำเป็น และเสบียง เช่น ไฟฉาย , เทียนไข+ไฟแช็ค , นกหวีด(เป่าขอความช่วยเหลือ) , อาหารแห้ง , น้ำดื่ม บางบ้านอาจเตรียมสู้น้ำท่วมด้วยการก่ออิฐ กั้นกระสอบทราย และมีเครื่องปั๊มน้ำ ก็ได้ หรือ อาจมีเรือพายลำเล็ก ๆ(พวกท่วมบ่อย ๆ จะมีพร้อม) และในสถานการณ์แบบนี้ วิทยุสื่อสาร หรือ วิทยุ FM จะมีประโยชน์มาก เพราะสัญญาณโทรศัพท์อาจใช้การไม่ได้ อีกอันที่ขาดไม่ได้คือยาสามัญประจำบ้าน และยาประจำตัว
5. วางแผนอพยพขึ้นที่สูง เพราะหากท่วมมากจริง ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ จะใช้ไม่ได้เลย เตรียมแผนอพยพเอาไว้ หาแหล่งที่พักเอาไว้ จะเป็นบ้านเช่า บ้านญาติ บ้านเพื่อน วัด หรือที่ทำงาน ก็ได้ และสิ่งของสำคัญที่จะต้องนำติดตัวไปด้วย เช่น ทรัพย์สินมีค่า เงินสด เครื่องประดับ ก็ต้องเก็บให้มิดชิดที่สุด ส่วนบ้านพักที่เราจำต้องทิ้งไป ปิดล็อคทุกอย่างให้เรียบร้อย ตัดไฟ ปิดน้ำ ปิดแก็ส และทำใจครับ ส่วนพวกสัตว์เลี้ยงที่ก็ลำบากอยู่เหมือนกัน แต่ก็ต้องนำติดไปด้วย บางท่านมีตู้ปลาอยู่ในบ้าน พอน้ำท่วม ไฟดับ ปลาตายหมดตู้เลยก็มี
หวังว่าคงพอช่วยในการเตรียมตัวได้บ้าง น้ำจะท่วมหรือไม่ ท่วมมาก ท่วมน้อย ก็ยังไม่แน่ แต่ผู้ที่เตรียมตัว เตรียมพร้อม จะผ่านสถานการณ์ไปได้โดยเสียหายน้อยที่สุดครับ